วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550

สรรพคุณและประโยชน์ของกระเจี๊ยบ


กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงราว 3-6 ศอก กิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายรูป เช่น ขอบใบเรียบ หรือหยักเว้า 3 หยัก ดอกสีชมพู ตรงกลางจะมีสีเข้มกว่ากลีบส่วนนอก เมื่อกลีบดอกร่วง ใบประดับและกลีบเลี้ยงจะเจริญขึ้น มีสีม่วงแดงเข้มหุ้มผลไว้ภายใน มีเมล็ด ใช้ปลูก ปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ใบประดับและกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแดง รสเปรี้ยว ทำแยมหรือใช้เป็นสารแต่งสี ในเยลลี่ ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผัก ใช้แกงส้ม กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ส้มพอเหมาะ" ใบประดับ กลีบเลี้ยงและใบมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นยากัดเสมหะ

สรรพคุณและประโยชน์ของข่า



ลำต้นที่อยู่ในใต้ดินเรียกว่า เหง้า เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน เนื้อในสีเนื้อ และมีกลิ่นหอมเฉพาะลำต้นที่อยู่เหนือดิน สูงได้ถึง 2 เมตร ใบสีเขียว ออกสลับข้างกัน รูปร่างรียาว ปลายแหลม ดอกออกเป็นช่อที่ยอด ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีขาวนวล ด้าน ในของกลีบดอกมีประสีแดง ผลเปลือกแข็ง รูปร่างกลมรี
เหง้าข่า เป็นเครื่องเทศที่ใช้ชูรสอาหาร ใส่ในเครื่องแกงแทบทุกชนิด ใช้ปรุงต้มข่าไก่ ผัดเผ็ด ลาบ ช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ใส่ในต้มเนื้อ ต้มปลา เพื่อดับกลิ่นคาวรสเผ็ดปร่า ขับลม แก้บวม ฟกซ้ำ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด

วิธีการผลิตสบู่เหลว

วิธีการในการผลิตสบู่เหลวธรรมชาติ

วิธีการผลิตสบู่เหลวธรรมชาตินั้นทำได้ 2 วิธี คือ
ผลิตโดยการใช้ไขมันทำปฏิกิริยากับโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์
ผลิตจากสบู่ก้อนแข็ง
วิธีการที่ 1 สบู่เหลวจากโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์
วิธีการนี้มีขั้นตอนคล้ายกับการผลิตสบู่ก้อนแข็ง แต่แทนที่จะใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaCH) ก็ใช้โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) แล้วเพิ่มขั้นตอนการเจือจางด้วยน้ำให้เป็นสบู่เหลว สบู่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างไขมันกับสารละลายด่างในปริมาณที่เหมาะสม และที่อุณหภูมิที่เหมาะสม
ไขมัน + (ด่าง และ น้ำ) -------> สบู่ + กลีเซอรีน
ไขมัน
ไขมันที่ใช้สามารถเลือกใช้ได้ทั้งจากไขมันสัตว์ และไขมันหรือน้ำมันจากพืชที่เราใช้ปรุงอาหารนั่นเองไขมันจากสัตว์ และน้ำมันจากพืชแต่ละชนิดที่เราจะเลือกใช้ในการผลิตสบู่จะเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปของสบู่ที่ได้ เช่น สีของสบู่ ลักษณะของฟองของสบู่ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
น้ำมันมะกอก จะได้เนื้อสบู่สีออกเหลือง มีฟองเป็นครีม คงทนและนุ่มนวล ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ไม่ทำให้ผิวแห้ง แต่เป็นน้ำมันที่มีราคาแพงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
น้ำมันรำข้าว มีวิตามินอีมาก จึงมักจะผสมเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อให้ได้สบู่ที่ให้ความชุ่มชื้นต่อผิวมากขึ้น
น้ำมันเมล็ดทานตะวัน ทำให้ได้สบู่ที่นุ่มนวล แต่มีฟองน้อย
น้ำมันถั่วเหลือง มีวิตามินอีมาก ทำให้ได้สบู่ที่ให้ความชุ่มชื้นต่อผิวหนัง
น้ำมันงา มีวิตามินอีมาก ทำให้ได้สบู่ที่นุ่มนวลต่อผิว แต่ค่อนข้างมีราคาแพง
น้ำมันละหุ่ง ได้สบู่ที่มีฟองขนาดเล็กจำนวนมาก สบู่มีคุณสมบัติให้ความชุ่มชื้นและนุ่มนวลต่อผิว
ด่าง
เนื่องจากเราต้องการผลิตสบู่เหลว เราจึงเลือกใช้โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH : Potassium Hydroxide) เป็นด่างที่จะทำปฏิกิริยากับไขมันเพื่อให้ได้สบู่ (โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์หาซื้อได้จากร้านศึกษาภัณฑ์พานิช ร้านวิทยาศรม หรือร้านเคมีภัณฑ์ทั่วไป)
การกำหนดปริมาณด่างที่จะใช้ได้ในการผลิตสบู่นี้มีความสำคัญมาก ด่างที่ใช้ต้องมีปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป จึงจะทำปฏิกิริยากับไขมันได้อย่างพอดีเกิดสบู่เป็นผลผลิตสุดท้าย หากใช้ด่างมากเกินไปถึงจะได้สบู่ แต่ก็เป็นสบู่ที่มีความเป็นด่างมากเกินไป ซึ่งจะระคายเคืองต่อผิวไม่เหมาะที่จะใช้อาบน้ำถูตัว หากใช้ด่างน้อยเกินไป อาจจะไม่ได้สบู่ ถึงจะได้สบู่ก็จะเป็นสบู่ที่เหลือไขมันมาก เพราะไขมันทำปฏิกิริยาไม่หมด ทำให้สบู่เยิ้มเหนียวมีกลิ่นหืนของไขมัน ไม่น่าใช้
การกำหนดปริมาณด่างที่จะใช้นั้นขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือ 1. ปริมาณของไขมันที่กำหนดขึ้นเองในตอนแรก และ 2. ขึ้นอยู่กับค่า saponification หรือค่าเฉพาะที่ปริมาณของด่างจะทำปฏิกิริยากับปริมาณของน้ำมันได้พอดีแล้วเกิดเป็นสบู่ ค่า soponification นี้จะต้องได้มาจากการใช้เครื่องวัด โดยเฉพาะเราจึงไม่สามารถกำหนดขึ้นมาเองได้ยกเว้นว่าจะลองผิดลองถูกจนได้ค่า ที่เก็บไว้ใช้เอง

สูตรการผลิตสบู่



สบู่

ส่วนผสม เกล็ดโซดาไฟ 1 1/2 ช้อนโต๊ะ น้ำเปล่า 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช 1/2 แก้ว

วิธีทำ นำน้ำมันพืชตั้งไฟ 2 นาทีประมาณ 40 องศาเซลเซียส นำโซดาไฟละลายในน้ำ 2 นาทีแล้วเทใส่น้ำมันพืช กวนไปเรื่อยๆ 20-30 นาที จึงใส่สมุนไพร 1 ช้อนโต๊ะ เช่น ผงขมิ้น หนือเปลือกมะกรูดจะตากแห้งแล้วป่นเป็นผงหนือทำเป็นของเหลวก็ได้ เมื่อกวนหรือคนเข้ากัดีแล้วเทใส่พิมพ์ จะได้สบู่ชั้นเยี่ยม วิธีเตรียมสมุนไพร มะขามเปียก 1 ช้อนโต๊ะ ผงขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะ น้ำจุลินทรีย์เปรี้ยว 1 ช้อนโต๊ะ ขยำให้เข้ากันกรองให้ดีนำมากวนลงไปในสบู่ได้ดีเจ้าค่ะ

สบู่สมุนไพร


ความเป็นมาของสบู่


มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า การค้นพบสบู่นั้นเป็นการค้นพบโดยบังเอิญ ในยุคโรมันที่มีการบูชายัญสัตว์บนแท่นบูชาที่ทำด้วยไม้ ซึ่งแท่นบูชานี้ตั้งอยู่บนเนินเขา เมื่อมีการบูชายัญสัตว์และมีการเผาบนแท่นบูชา ไขมันสัตว์ก็ผสมกับขี้เถ้า เมื่อฝนตกลงมาก็เกิดเป็นก้อนสีขาว ไหลไปตามลำธารที่อยู่เชิงเขา เมื่อชาวบ้านนำเสื้อผ้ามาซักที่ลำธารหลังจากฝนตกก้อนขาวๆ นี้จะช่วยให้ซักผ้าได้ง่ายขึ้น สะอาดขึ้น จากการค้นพบนี้เองจึงมีการผลิตสบู่สืบต่อกันมา